วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ดอกไม้ประดิษฐ์ทิวลิปอำเภอปากท่อ

ข้อมูลรายละเอียดสินค้าของ กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสาชุบยางพารา

รหัสผลิตภัณฑ์ (Code): 700805-A104ผลิตภัณฑ์ (Product) ดอกทิวลิปรายละเอียดผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์ทำจากกระดาษสาชุบยางพาราขนาด (Size : cm) กว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร สูง 38 เซนติเมตรน้ำหนัก (Weight : g)20 กรัมราคาขายส่ง 15 บาทราคาขายปลีก 20 บาทวัตถุดิบที่ใช้กระดาษสาชุบยางพาราสถานที่จำหน่าย กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสาชุบยางพารา126 หมู่ 2 บ้านโคกพระเจริญ ตำบลปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 70140 ติดต่อ : นางบังเอิญ บุญนฤทีโทร : 032 358222, 09 1511050

หัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้านตำบลดอนแร่



ข้อมูลรายละเอียดสินค้าของ ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้านราชบุรี

รหัสผลิตภัณฑ์ (Code): 700113-A911ผลิตภัณฑ์ (Product) เซียงจกฝ้ายรายละเอียดผลิตภัณฑ์ผ้าซิ่น ลายเซียง จกฝ้าย ตัวผ้าใช้ผ้าฝ้ายทอมือ โดยลวดลายของเซียงจะน้อยกว่าลายโค้งเล็ก หนึ่งในผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาไทยของกลุ่มหัตถกรรมทอผ้าพื้นเมือง ต.ดอนแร่ มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกตามความต้องการ ผลิตจากผ้าไหม ที่ทอด้วยมือนำไปขึ้นแบบด้วยกี่กระตุก ซึ่งต้องใช้ความชำนาญและประสบการณ์ในการทอ เป็นผ้าสำหรับตัดเป็นชุด (OTOP)ขนาด (Size : cm) กว้าง 1 เมตร ยาว 1.8 เมตรราคาขายส่ง 1000 บาทราคาขายปลีก 1200 บาทวัตถุดิบที่ใช้ผ้าฝ้ายสถานที่จำหน่าย ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้านราชบุรี38 หมู่ที่ 2 ตำบลดอนแร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 70000 ติดต่อ : คุณลำพัน ผกาแก้วโทร : 032 227889 , 08 1868 3426โทรสาร : 032 207222

ดอกไม้ประดิษฐ์กุหลาบอำเภอปากท่อ



ข้อมูลรายละเอียดสินค้าของ กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสาชุบยางพารา

รหัสผลิตภัณฑ์ (Code): 700805-A101ผลิตภัณฑ์ (Product) ดอกกุหลาบรายละเอียดผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์ทำจากกระดาษสาชุบยางพาราขนาด (Size : cm) กว้าง 18 เซนติเมตร ยาว 18 เซนติเมตร สูง 38 เซนติเมตรน้ำหนัก (Weight : g)50 กรัมราคาขายส่ง 25 บาทราคาขายปลีก 30 บาทวัตถุดิบที่ใช้กระดาษสาชุบยางพาราสถานที่จำหน่าย กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษสาชุบยางพารา126 หมู่ 2 บ้านโคกพระเจริญ ตำบลปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 70140 ติดต่อ : นางบังเอิญ บุญนฤทีโทร : 032 358222, 09 1511050

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551

วิวเมืองไทย

พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์






ในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนานั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1,472,900 บาท ในเดือนพฤษภาคม 2534 ให้มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎก และอรรถกถาต่อเนื่องจากโครงการพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์เดิม ที่มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนาเสร็จแล้ว และได้ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสรัชมังคลาภิเษก 2 กรกฎาคม 2531 ทรงเห็นว่าโครงการนี้ควรได้รวบรวมเอาชุดอรรถกถาและฎีกาเข้าไว้ด้วยกัน นับเป็นโครงการที่นำวิทยาการชั้นสูงมาประยุกต์ใช้กับข้อมูลเนื้อหาทางด้านพุทธศาสนา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์นี้ด้วยพระองค์เอง และมีพระบรมราชวินิจฉัย และพระราชวิจารณ์ในการออกแบบโปรแกรมสำหรับใช้ในการสืบค้นข้อมูลในฐานะแห่งองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก การครั้งนี้กล่าวได้ว่า เป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนยาวนานสืบไปในอนาคตกาล



ในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนานั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1,472,900 บาท ในเดือนพฤษภาคม 2534 ให้มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎก และอรรถกถาต่อเนื่องจากโครงการพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์เดิม ที่มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนาเสร็จแล้ว และได้ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสรัชมังคลาภิเษก 2 กรกฎาคม 2531 ทรงเห็นว่าโครงการนี้ควรได้รวบรวมเอาชุดอรรถกถาและฎีกาเข้าไว้ด้วยกัน นับเป็นโครงการที่นำวิทยาการชั้นสูงมาประยุกต์ใช้กับข้อมูลเนื้อหาทางด้านพุทธศาสนา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์นี้ด้วยพระองค์เอง และมีพระบรมราชวินิจฉัย และพระราชวิจารณ์ในการออกแบบโปรแกรมสำหรับใช้ในการสืบค้นข้อมูลในฐานะแห่งองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก การครั้งนี้กล่าวได้ว่า เป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนยาวนานสืบไปในอนาคตกาล

สะพานพระราม 8


สะพานพระราม 8

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาการจราจรแออัดบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครชั้นในบริเวณถนนราชดำเนินกลาง ซึ่งเชื่อมต่อกับฝั่งธนบุรี ผ่านทางสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและเข้าบรรจบกับถนนจรัญสนิทวงศ์ เพื่อคลี่คลายปัญหาพื้นผิวจราจรไม่เพียงพอและปรับปรุงการไหลเวียนของการจราจรในบริเวณนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริให้ก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนีจากถนนอรุณอมรินทร์ถึงตลิ่งชันเมื่อประมาณกลางปี 2538 เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรในบริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและถนน บรมราชชนนี เป็นทางยกระดับขนาด ช่องจราจร ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้แล้ว และเพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดใช้เส้นทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรม-ราชชนนีรวมทั้งเพิ่มจุดเชื่อมโยงกรุงเทพมหานคร ฝั่งพระนครและธนบุรีจึงทรงมีพระราชดำริผ่านมายังปลัดกรุงเทพมหานครให้พิจารณาก่อสร้างสะพานเป็นเส้นทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง บริเวณถนนอรุณอัมรินทร์ไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ผ่านบางยี่ขัน) และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ด้วย ได้พระราชทานแผนที่ให้กรุงเทพมหานครซึ่งเขียนแนวเส้นทางพระราชดำริด้วยลายพระหัตถ์ของพระองค์เองเพื่อให้กรุงเทพมหานครไปศึกษา ความเป็นไปได้ในการก่อสร้างตามพระราชดำริ
กรุงเทพมหานครได้ศึกษาทางเลือก 3 - 4 แนวสายทางแล้ว เห็นว่าสายทางที่โครงการเริ่มจากทางแยกวิสุทธิกษัตริย์ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเกษมตรงธนาคารแห่งประเทศไทย อ้อมลงใต้ผ่านถนนอรุณอัมรินทร์เข้าบรรจบกับโครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนีเป็นแนวสายทางที่เหมาะสมกรุงเทพมหานครได้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างคณะรัฐมนตรีมีมติให้กรุงเทพมหานครดำเนินการก่อสร้างโครงการโดยวิธีออกแบบรวมก่อสร้างในวงเงิน 3,170 ล้านบาท โดยกรุงเทพมหานครแบ่งโครงการออกเป็น 2 ตอน คือ จากถนนวิสุทธิกษัตริย์ถึงคลอบางยี่ขันเป็นสะพานข้ามแม่น้ำและทางยกระดับ ประมาณการค่าออกแบบรวมก่อสร้าง 2,720 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 24 เดือน



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาการจราจรแออัดบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครชั้นในบริเวณถนนราชดำเนินกลาง ซึ่งเชื่อมต่อกับฝั่งธนบุรี ผ่านทางสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและเข้าบรรจบกับถนนจรัญสนิทวงศ์ เพื่อคลี่คลายปัญหาพื้นผิวจราจรไม่เพียงพอและปรับปรุงการไหลเวียนของการจราจรในบริเวณนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริให้ก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนีจากถนนอรุณอมรินทร์ถึงตลิ่งชันเมื่อประมาณกลางปี 2538 เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรในบริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและถนน บรมราชชนนี เป็นทางยกระดับขนาด ช่องจราจร ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้แล้ว และเพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดใช้เส้นทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรม-ราชชนนีรวมทั้งเพิ่มจุดเชื่อมโยงกรุงเทพมหานคร ฝั่งพระนครและธนบุรีจึงทรงมีพระราชดำริผ่านมายังปลัดกรุงเทพมหานครให้พิจารณาก่อสร้างสะพานเป็นเส้นทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง บริเวณถนนอรุณอัมรินทร์ไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ผ่านบางยี่ขัน) และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ด้วย ได้พระราชทานแผนที่ให้กรุงเทพมหานครซึ่งเขียนแนวเส้นทางพระราชดำริด้วยลายพระหัตถ์ของพระองค์เองเพื่อให้กรุงเทพมหานครไปศึกษา ความเป็นไปได้ในการก่อสร้างตามพระราชดำริ
กรุงเทพมหานครได้ศึกษาทางเลือก 3 - 4 แนวสายทางแล้ว เห็นว่าสายทางที่โครงการเริ่มจากทางแยกวิสุทธิกษัตริย์ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเกษมตรงธนาคารแห่งประเทศไทย อ้อมลงใต้ผ่านถนนอรุณอัมรินทร์เข้าบรรจบกับโครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนีเป็นแนวสายทางที่เหมาะสมกรุงเทพมหานครได้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างคณะรัฐมนตรีมีมติให้กรุงเทพมหานครดำเนินการก่อสร้างโครงการโดยวิธีออกแบบรวมก่อสร้างในวงเงิน 3,170 ล้านบาท โดยกรุงเทพมหานครแบ่งโครงการออกเป็น 2 ตอน คือ จากถนนวิสุทธิกษัตริย์ถึงคลอบางยี่ขันเป็นสะพานข้ามแม่น้ำและทางยกระดับ ประมาณการค่าออกแบบรวมก่อสร้าง 2,720 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 24 เดือน

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2551


ทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ " ฝนหลวง " ทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ " ฝนหลวง "

ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเยี่ยม พสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงพบเห็นว่าหลายแห่งประสบปัญหา พื้นดินแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรมักประสบความเดือดร้อนจากภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล และทรงความอัจฉริยะของพระองค์ด้วยคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ ทรงสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น และได้มีพระราชดำริครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2498 แก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหา วิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ กับทรัพยากร ที่มีอยู่ให้เกิดมีศักยภาพของการเป็นฝนให้ได้ "ฝนหลวง" หรือ "ฝนเทียม" จึงกำเนิดขึ้นโดยประยุกต์ผลการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้านฝนเทียมของประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิสราเอล ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่าง ใกล้ชิดพร้อมกันนี้ได้มีการจัดตั้ง "สำนักงานปฎิบัติการฝนหลวง" ขึ้น เพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานฝนหลวงในระยะต่อ มาจนถึงปัจจุบัน
การทำฝนหลวงว่ามี 3 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน เป็นการกระตุ้นให้เมฆรวมตัวเป็นกลุ่มแกน เพื่อใช้เป็น แกนกลางในการสร้างกลุ่มเมฆฝนในระยะต่อมา สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคาร์ไบด์ แคลเซียมอ๊อกไซด์ หรือสารผสมระหว่าง เกลือแกงกับสารยูเรีย หรือสารผสม ระหว่างสารยูเรียกับแอมโมเนียมไนเตรท ซึ่งสารผสมดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศ 2. ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน ขั้นตอนนี้ใช้สารเคมี คือ เกลือแกง สารประกอบสูตร ท.1 สารยูเรีย สารแอมโมเนียไนเตรท น้ำแข็งแห้ง และอาจใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ร่วมด้วยเพื่อเป็นการเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำ (Nuclii) ให้กลุ่มเมฆฝน มีความหนาแน่นมากขึ้น 3. ขั้นตอนที่ 3 โจมตี สารเคมีที่ใช้ในขั้นตอนนี้เป็นสารเย็นจัด คือซิลเวอร์ไอโอได น้ำแข็งแห้ง เพื่อทำให้เกิดภาวะความไม่สมดุลมากที่สุด ซึ่งจะเกิดเป็นเม็ดน้ำ ที่มีขนาดใหญ่มากและตกกลายเป็นฝนในที่สุด อย่างไรก็ดี ทุกขั้นตอนจะต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ในการตัดสินใจที่จะเลือกใช้สารเคมีในปริมาณที่พอเหมาะ ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงสภาพอากาศสภาพภูมิประเทศทิศทางและความเร็วของลม ตลอดจนกำหนดบริเวณหรือแนวพิกัด ที่จะโปรยสารเคมี
ประโยชน์ของการทำฝนหลวง 1. เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตรในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงยาวนานเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำ ให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนลดน้อยลง 2. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำโดยเฉพาะในบริเวณแม่น้ำที่ตื้นเขินให้สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมได้ 3. เพื่อป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม "ฝนหลวง" ได้บรรเทาภาวะแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจากการระบาย น้ำเสีย และขยะมูลฝอยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลง 4. เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าฝนหลวงในอนาคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวความคิดให้ทำการศึกษาวิจัยพัฒนาฝนหลวงหลายประการ คือ สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมีจากพื้นดินเข้าสู่เมฆหรือยิงจากเครื่องบิน การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกำลังสูงจากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่น จนเกิดฝนตกลงสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา


ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเยี่ยม พสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงพบเห็นว่าหลายแห่งประสบปัญหา พื้นดินแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรมักประสบความเดือดร้อนจากภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล และทรงความอัจฉริยะของพระองค์ด้วยคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ ทรงสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น และได้มีพระราชดำริครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2498 แก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหา วิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ กับทรัพยากร ที่มีอยู่ให้เกิดมีศักยภาพของการเป็นฝนให้ได้ "ฝนหลวง" หรือ "ฝนเทียม" จึงกำเนิดขึ้นโดยประยุกต์ผลการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้านฝนเทียมของประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิสราเอล ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่าง ใกล้ชิดพร้อมกันนี้ได้มีการจัดตั้ง "สำนักงานปฎิบัติการฝนหลวง" ขึ้น เพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานฝนหลวงในระยะต่อ มาจนถึงปัจจุบัน
การทำฝนหลวงว่ามี 3 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน เป็นการกระตุ้นให้เมฆรวมตัวเป็นกลุ่มแกน เพื่อใช้เป็น แกนกลางในการสร้างกลุ่มเมฆฝนในระยะต่อมา สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคาร์ไบด์ แคลเซียมอ๊อกไซด์ หรือสารผสมระหว่าง เกลือแกงกับสารยูเรีย หรือสารผสม ระหว่างสารยูเรียกับแอมโมเนียมไนเตรท ซึ่งสารผสมดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศ 2. ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน ขั้นตอนนี้ใช้สารเคมี คือ เกลือแกง สารประกอบสูตร ท.1 สารยูเรีย สารแอมโมเนียไนเตรท น้ำแข็งแห้ง และอาจใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ร่วมด้วยเพื่อเป็นการเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำ (Nuclii) ให้กลุ่มเมฆฝน มีความหนาแน่นมากขึ้น 3. ขั้นตอนที่ 3 โจมตี สารเคมีที่ใช้ในขั้นตอนนี้เป็นสารเย็นจัด คือซิลเวอร์ไอโอได น้ำแข็งแห้ง เพื่อทำให้เกิดภาวะความไม่สมดุลมากที่สุด ซึ่งจะเกิดเป็นเม็ดน้ำ ที่มีขนาดใหญ่มากและตกกลายเป็นฝนในที่สุด อย่างไรก็ดี ทุกขั้นตอนจะต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ในการตัดสินใจที่จะเลือกใช้สารเคมีในปริมาณที่พอเหมาะ ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงสภาพอากาศสภาพภูมิประเทศทิศทางและความเร็วของลม ตลอดจนกำหนดบริเวณหรือแนวพิกัด ที่จะโปรยสารเคมี
ประโยชน์ของการทำฝนหลวง 1. เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตรในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงยาวนานเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำ ให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนลดน้อยลง 2. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำโดยเฉพาะในบริเวณแม่น้ำที่ตื้นเขินให้สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมได้ 3. เพื่อป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม "ฝนหลวง" ได้บรรเทาภาวะแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจากการระบาย น้ำเสีย และขยะมูลฝอยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลง 4. เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าฝนหลวงในอนาคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวความคิดให้ทำการศึกษาวิจัยพัฒนาฝนหลวงหลายประการ คือ สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมีจากพื้นดินเข้าสู่เมฆหรือยิงจากเครื่องบิน การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกำลังสูงจากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่น จนเกิดฝนตกลงสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา